กรมปศุสัตว์ กวาด 4 รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 จากสำนักงาน ก.พ.ร.

วันพุธที่ 18 กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ประกาศผลการพิจารณารางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 เพื่อมอบรางวัลให้กับหน่วยงานที่มีผลการดำเนินการที่เป็นเลิศทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการภาครัฐ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐและเปิดระบบราชการให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม โดยกรมปศุสัตว์ได้รับรางวัลเลิศรัฐ จำนวน 4 รางวัล ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพคเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า การได้รับรางวัลเลิศรัฐ ถือเป็นความภาคภูมิใจของกรมปศุสัตว์ในการมุ่งมั่นพัฒนาระบบราชการ ส่งผลให้กรมปศุสัตว์ได้รับรางวัลจากสำนักงาน ก.พ.ร. ทุกปีอย่างต่อเนื่อง รวม 77 รางวัล ซึ่งในปีนี้กรมปศุสัตว์ได้รับรางวัลเลิศรัฐจำนวน 4 รางวัล คือ
1. รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ระดับก้าวหน้า เป็นรางวัลที่มอบให้หน่วยงานที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการขององค์กร เพื่อไปสู่การเป็นระบบราชการที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน 
2. รางวัลบริการภาครัฐ ระดับดี ประเภทขับเคลื่อนเห็นผล ผลงาน “ครอบครัวผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ (ใส่ใจ) “DLD Product Family” เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากน้ำนม ทั้งที่เป็นอาหารและไม่เป็นอาหารเพื่อนำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางต่อไป
3. รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ระดับดีเด่น ประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม ผลงาน “ครอบครัวปศุสัตว์พัฒนา ทำดีร่วมใจ ฝ่าวิกฤตภัยพิบัติ กำจัดโรคพิษสุนัขบ้า” เป็นการแก้ปัญหาวิกฤตภัยพิบัติโรคระบาดสัตว์อุบัติใหม่ ควบคู่ไปกับการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน สนับสนุนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4. รางวัลบริการภาครัฐ ระดับดี ประเภทบูรณาการข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล
สำหรับรางวัลเลิศรัฐที่กรมปศุสัตว์ได้รับรางวัลในปีนี้ เนื่องจากกรมปศุสัตว์มีเป้าหมายในการพัฒนางานที่ชัดเจน โดยได้ให้ความสำคัญและเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการของกรมปศุสัตว์ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชน ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคปศุสัตว์ ซึ่งเป็นแนวทางในการเนินงานด้านปศุสัตว์ให้ประสบความสำเร็จและได้รับความเชื่อมั่นจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ผู้ประกอบการ และผู้รับบริการต่อไป
Post a Comment (0)
Previous Post Next Post