การยางแห่งประเทศไทย ติดตามผลการ นำน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำมาใช้ในสวน ที่จังหวัดลำพูน เกษตรกรเผย สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง

นายเพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) กล่าวภายหลังการลงพื้นที่ติดตามผลการนำน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำมาใช้ในสวนยาง ณ สวนยางของนายณรงค์ กาปัญญา เกษตรกรตัวอย่างในพื้นที่อำเภอ ป่าซาง จังหวัดลำพูน ว่า ในปีที่ผ่านมา กยท. ได้มีการจำหน่ายน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำให้แก่เกษตกรไปแล้วกว่า 1 ล้านลิตร ซึ่งนอกจากการช่วยแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในธรรมชาติด้วยการนำมาใช้ประโยชน์แล้ว ยังช่วยลดต้นทุนด้านปัจจัยการผลิตของเกษตรกรในภาพรวมได้กว่า 400-500 ล้านบาท 
นอกจากนี้ กยท. จะนำงบประมาณที่ได้จากการจำหน่ายน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำ มาใช้ดำเนินการศึกษาวิจัยพัฒนา และยกระดับน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำเป็นปุ๋ยอินทรีย์สูตรน้ำ ที่มีแร่ธาตุและความเข้มข้นสูง ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนของเกษตรกรได้มากยิ่งขึ้น และสำหรับปีงบประมาณ 2568 กยท. ได้จัดสรรงบประมาณ จำนวน 12 ล้านบาท สำหรับการรับซื้อปลาหมอคางดำ จำนวน 600,000 กิโลกรัม เพื่อส่งผลิตเป็นน้ำหมักชีภาพ
นายณรงค์ กาปัญญา เกษตรกรตัวอย่างที่ได้นำน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำมาใช้ในพื้นที่สวนยาง กล่าวว่า หลังจากได้นำน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำมาใช้ในสวนยาง พบว่าสามารถกรีดยางได้ถึง 20-25 วัน/เดือน (จากเดิมที่สามารถกรีดได้เพียง 15-20 วัน )รวมถึงมีแร่ธาตุอาหาร ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของต้นยางพารา และการผลิตน้ำยาง โดยเฉพาะ คีเลท อีกทั้งยังช่วยสำหรับการเจริญเติบโตของพืชข้างเคียง ที่จะช่วยให้ควบคุมความชื้นของดินบริเวณโคนต้นยางพารา และ เมื่อนำมาใช้ร่วมกับปุ๋ย จะช่วยเร่งกระบวนการสลายตัว ให้พืชสามารถดูดซับแร่ธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ในเวลาเพียง 3 วัน
Post a Comment (0)
Previous Post Next Post